To ensure your loved ones receive your inheritance on appropriate terms.
The will should be drafted by us who have a strong grasp of Thai legal precepts.
Basic knowledge about the inheritance according to Thai Law
TITLE 1
GENERAL PROVISIONS
CHAPTER 1
DEVOLUTION OF AN ESTATE
Section 1603.- An estate devolves on the heirs by statutory right or by will.
Heirs, who are so entitled by law, are called “statutory heirs.”
Heirs, who are so entitled by will, are called “legatees.”
TITLE 2
STATUTORY RIGHT OF INHERITANCE
CHAPTER 1
GENERAL PROVISIONS
Section 1620.- Where a person dies without having made a will, or if having made a will, his will has no effect, the whole of his estate shall be distributed among his statutory heirs according to law.
Where a person dies having made a will which disposes of or has effect for a part only of his estate, the part which has not been disposed of or is not affected by the will shall be distributed among his statutory heirs according to law.
CHAPTER 2
DIVISION INTO PROTIONS BETWEEN THE SEVERAL CLASSES
AND DEGREES OF STATUTORY HEIRS
Section 1629.- There are only six classes of statutory heir; and subject to the provisions of Section 1630 paragraph 2, each class is entitled to inherit in the following order:
(1) descendants;
(2) parents;
(3) brothers and sisters of full blood;
(4) brothers and sisters of half blood;
(5) grandfathers and grandmothers;
(6) uncles and aunts.
The surviving spouse is also a statutory heir, subject to the special provisions of Section 1635.
PART 2
SPOUSES
Section 1635.- The surviving spouse is entitled to the inheritance of the deceased in the class and according to the division as hereunder provided:
(1) if there is an heir according to Section 1629 (1) surviving or having representatives as the case may be, such surviving spouse is entitled to the same share as an heir in the degree of children;
(2) if there is an heir according to Section 1629 (3) and such heir is surviving or has representatives, or if in default of an heir according to Section 1629 (1), there is an heir according to Section 1629 (2) as the case may be, such surviving spouse is entitled to one half of the inheritance;
(3) if there is an heir according to Section 1629 (4) or (6) and such heir is surviving or has representatives, or if there is an heir according to Section 1629 (5) as the case may be, such surviving spouse is entitled to two-thirds of the inheritance;
(4) if there is no heir as specified in Section 1629, such surviving spouse is entitled to whole inheritance.
เพื่อทำให้คุณมั่นใจได้ว่า คนรักของคุณได้รับมรดกตามเงื่อนไขที่เหมาะสม เราสามารถ
ร่างพินัยกรรม ซึ่งทนายความของเรามีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในด้านการดำเนินการของ
กฎหมายไทยเป็นอย่างดี
ความรู้เบื้องต้นเรื่องการรับมรดก ตามกฎหมายไทย
ลักษณะ ๑
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
หมวด ๑
การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก
มาตรา ๑๖๐๓ กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม”
ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”
ลักษณะ๒
สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
หมวด ๑
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา ๑๖๒๐ ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผงบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมหรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
หมวด ๒
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท
โดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ
มาตรา ๑๖๒๙ ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๖๓๐ วรรค ๒ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ผู้สืบสันดาน
(๒) บิดามารดา
(๓) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔) พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
(๕) ปู่ ย่า ตา ยาย
(๖) ลุง ป้า น้า อา
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา ๑๖๓๕
ส่วนที่ ๒
คู่สมรส
มาตรา ๑๖๓๕ ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(๑) ถ้ามีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙(๑) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(๒) ถ้ามีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙(๓) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙(๑) แต่มีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙(๒) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
(๓) ถ้ามีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙(๔) หรือ (๖) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา ๑๖๒๙ (๕) แล้วแต่กรณีคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
(๔)ถ้าไม่มีทายาทดังที่ระบุไว้ในมาตรา ๑๖๒๙ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด